อารยธรรมเอเชีย

อารยธรรมเอเชีย

อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์

ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ

 อารยธรรมราชวงศ์

ราชวงศ์ชาง


-มีการปกครองแบบนครรัฐ
-มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว 
เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตาจึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”
-มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
-อักษรจีนจารึกบนกระดองเต่า

ราชวงศ์โจว


-แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น “โอรสแห่งสวรรค์” 
สวรรค์มอบ
อำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า “อาณัตแห่งสวรรค์”
-เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
-เกิดลัทธิขงจื๊อ ที่มีแนวทาง
-เป็นแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม
-เน้นความสัมพันธ์และการทำหน้าที่ของผู้คนในสังคม ระหว่างจักรพรรดิ
กับราษฎร
บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน
-เน้นความกตัญญู เคารพผู้อาวุโส ให้ความสำคัญกับครอบครัว
-เน้นความสำคัญของการศึกษา
-เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ ที่มีแนวทาง
-เน้นการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีระเบียบแบบแผนพิธีรีตองใดใด
-เน้นปรับตัวเข้าหาธรรมชาติ
-ลัทธินี้มีอิทธิพลต่อศิลปิน กวี และจิตรกรจีน
-คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน

ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน

-จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิ เป็นครั้งแรกคือ 
พระเจ้าชิวั่งตี่ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
-มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด



ราชวงศ์ฮั่น

-เป็นยุคทองด้านการค้าของจีน มีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับ แล
อินเดีย โดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม ( Silk Road )
-ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
-มีการสอบ คัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน

ราชวงศ์สุย

-เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
-มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม





ราชวงศ์ถัง

-ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวัน

ออกในสมัยนั้น
-พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระ
ไตรปิฎก ในชมพูทวีป
-เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
-ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง

ราชวงศ์ซ้อง

-มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
-รู้จักการใช้เข็มทิศ
-รู้จักการใช้ลูกคิด
-ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
-รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม




ราชวงศ์หยวน

-เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรก คือ 

กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
-ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาว
เมืองเวนีส อิตาลี





ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง

-วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่า
การใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก 
-ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
-สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
-เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุก
ด้าน
-เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบ
แพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
-ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพล




ศิลปะวัฒนธรรมของจีน



ศิลปะที่มีอายุยืนนานที่สุดเริ่มต้นตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ คือ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีในวัฒนธรรมหยางเชา และเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดมันเงาในวัฒนธรรมหลงชาน ซึ่งทำขึ้นสำหรับพิธีฝังศพและเพื่อประโยชน์ใช้สอยทั่วๆไป
กรรมวิธีในการเผา เคลือบ การใช้สี และการวาดลวดลายเครื่องปั้นดินเผา มีพัฒนาการเรื่อยมาและรุ่งเรืองที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีการผลิตภาชนะดินเผาแบบพิเศษสำหรับชนชั้นสูงและแบบธรรมดาสำหรับสามัญชนทั่วไปเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศและได้กลายเป็นต้นแบบของเครื่องเคลือบที่เรียกว่า ลายคราม ในสมัยราชวงศ์หยวนและพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดเป็นเครื่องเบญจรงค์ถ้วยชามในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวคือ เป็นลายครามเคลือบสีทั้งห้า สีหลักคือ สีดำ ขาว เหลือง แดง และเขียวหรือคราม และอาจใช้สีอื่นประกอบได้อีก เช่น สีม่วง ชมพู แสด น้ำตาล  
2. เครื่องสำริด
ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บรรพบุรุษ และใช้ในพิธีต่างๆตลอดจนใช้สอยในชีวิตประจำวัน ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง มีลักษณะพิเศษที่ลายประดิษฐ์และลอกเลียนแบบธรรมชาติ ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด
เครื่องสำริดค่อยๆหมดความสำคัญลงในสมันราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีวัสดุอุปกรณ์อื่นเข้ามาแทน เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เครื่องปั้นดินเผา แต่อย่างไรก็ตามเครื่องสำริดก็ยังใช้ทางด้านพิธีกรรมอยู่ 
3. เครื่องหยก
เครื่องหยกจัดเป็นศิลปะแขนงสำคัญของจีนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการพบหยกสีน้ำตาลทำเป็นรูปขวานและแหวนในหลุมศพปลายสมัยหินใหม่ ชาวจีนยกย่องว่าหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม 5 ประการ คือ ใจบุญ สมถะ กล้าหาญ ยุติธรรม และมีสติปัญญา ชาวจีนมีความผูกพันกับหยกตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ เพราะชาวจีนเชื่อว่าหยกเป็นอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาซึ่งสิริมงคล ความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวย ความมีโชคแก่ผู้ครอบครองและทำให้อายุยืนด้วยดังนั้น
ชาวจีนในสมัยก่อนไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดจึงนิยมใช้หยกเป็นเครื่องประดับและเครื่องใช้ต่าง เช่น พระจักรพรรดิใช้หยกเป็นตราพระราชลัญจกร พระธำมรงค์ พระคทา หรือพระที่นั่ง ชาวจีนทั่วไปมักจะให้ลูกหลานของตนพกหยกติดตัวไว้เสมอ ถ้าเป็นเด็กหญิงจะสวมกำไลหยก แต่ถ้าเป็นเด็กชายก็จะพกเครื่องใช้ที่ทำด้วยหยกหรือจี้พระหยก เมื่อเสียชีวิตหยกก็จะถูกฝังลงไปพร้อมกับศพ
การที่ชาวจีนฝังหยกลงไปด้วยกันกับศพนี้ เนื่องจากเชื่อกันว่าหยกสามารถรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยได้ ดังที่มีการขุดพบฉลองพระองค์หยกของพระจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเมื่อ 2,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความเชื่อนี้ ส่วนประเพณีทำศพนั้น ชาวจีนมักจะนำหยกที่แกะสลักเป็นรูปกลมแบนมีรูตรงกลางซึ่งแทนสัญลักษณ์ของสวรรค์ที่เรียกว่า “ปิ” (Pi) มาวางไว้ด้านหลังศพ ส่วนบนท้องศพจะวางหยกรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโลก เรียกว่า “จุง” (Tsung) เพื่อให้สวรรค์หนุนหลัง
024

กำไลหยก
4. ประติมากรรม
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ฉินมีการสร้างสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี ทางด้านตะวันออกองเมืองซีอาน ภายในมีการขุดพบประติมากรรมดินเผารูปทหารเท่าคนจริงจำนวนหลายพันรูป และขบวนม้าศึก จัดตามตำราพิชัยสงคราม
025
งานประติมากรรมดินเผาเริ่มเสื่อมลงในราชวงศ์ฮั่นเนื่องจากมีการนำหินมาสลักแทนและ มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลในสมัยราชวงศ์ชางสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีพุทธปฏิมาที่นิยมสร้าง คือ พระศรีศากยมุนี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอริยเมตไตรย พระอมิตาภะ
5. สถาปัตยกรรม
026
กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
027
พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
C12925853-140
กำแพงเมืองซีอาน

ความรุ่งเรืองของจีน




ราชอาณาจักรเจริญรุ่งเรืองและเสื่อม จักรวรรดิพุ่งสุดขีดและแตกสลาย นี่คือปรากฏการณ์ที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และตัวแปรสำคัญตัวหนึ่งที่นำไปสู่ความล่มสลายของหน่วยการเมือง ไม่ว่าจะเป็นราชอาณาจักรหรือจักรวรรดิ ก็คือกลุ่มผู้ปกครองอ่อนแอของตนเอง และความอ่อนแอดังกล่าวนั้นก็มาจากปัญหาที่เกิดจากการกระทำของตนเอง โดยทั่วๆ ไปผู้ปกครองที่เข้าสู่อำนาจจะอุทิศตัวเองเพื่อประชาชน เพื่อพัฒนาสังคม ทั้งในเรื่องการบริหาร เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ปกครองดังกล่าวก็จะถูกระบบทำให้เสียคน หลงอำนาจ ปล่อยให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่เอาใจใส่ต่อภารกิจของบ้านเมือง มุ่งหาความสุขส่วนตัว ฯลฯ และนั่นก็จะนำไปสู่จุดจบของความรุ่งเรืองทางการเมืองการบริหาร

สรุปได้ว่าสาเหตุใหญ่ของการเสื่อมอำนาจและการสูญสิ้นราชวงศ์ในระบบการเมืองจีนโบราณนั้น เกิดจากตัวแปรดังต่อไปนี้

ประการแรก องค์จักรพรรดิเมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ ก็จะอุทิศตนให้กับแผ่นดินโดยการบูรณะเขื่อนและฝาย เปลี่ยนตัวขุนนางโดยเอาคนดีมีฝีมือมาช่วยบริหารประเทศ แก้ไขความเสื่อมทรามของสังคม แต่เมื่อผ่านไปหนึ่งชั่วคนจักรพรรดิองค์ใหม่ก็จะหาความสุขสำราญในทางโลกียวิสัย ลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจรังแกบีฑาประชาราษฎร์ ผลสุดท้ายก็จะนำไปสู่ความเสื่อมสลายต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว จักรพรรดิก็จะถูกมองว่าเป็นทรราชซึ่งจะนำไปสู่ขบวนการที่จะเปลี่ยนราชวงศ์โดยการเกิดกบฏชาวนา โดยผู้ที่พยายามโค่นล้มราชบัลลังก์

ประการที่สอง จักรพรรดิที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จะมีพฤติกรรมที่นำไปสู่การสร้างความแปลกแยกกับกลุ่มชั้นสูงในสังคมจีน ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้บริหารที่เป็นนักปราชญ์มีฐานะโดยเป็นเจ้าของที่ดินและมีความรู้ โดยกลุ่มนักปราชญ์ดังกล่าวซึ่งมักจะเป็นขุนนางมองเห็นว่าจักรพรรดิ์ได้เปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นทรราช หรือมิฉะนั้นก็อาจมีความอ่อนแอถูกครอบงำโดยเหล่าขุนนางกังฉินหรือขันที ดังนั้น ความชอบธรรมในการบริหารจึงหมดไป อาณัติจากสวรรค์ก็จะไม่เป็นที่รับรองและใช้อ้างไม่ได้ เมื่อความรู้สึกเช่นนี้กระจายออกไปก็จะส่งผลให้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนตัวจักรพรรดิ ล้มราชวงศ์แล้วเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่

ประการที่สาม องค์จักรพรรดิซึ่งถูกล้อมรอบโดยกลุ่มขุนนางกังฉิน ขันที และเหล่าสนมกำนัลใน ซึ่งมุ่งตำแหน่งอำนาจและผลประโยชน์ จะถูกปิดไม่ให้รับข่าวสารที่แท้จริงจากโลกภายนอก ทุกคนต่างไม่ต้องการให้จักรพรรดิทราบข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย ผลที่สุดทั้งองค์จักรพรรดิเองก็ไม่ทรงยินดีรับฟังข่าวร้ายหรือข้อมูลที่ไม่สบายใจ วาจาจริงซึ่งแสลงหูจึงเป็นสิ่งที่รับฟังไม่ได้ ในขณะเดียวกันคนล้อมรอบก็ไม่กล้าพูดความจริง มีแต่คำเพ็ดทูลที่กุขึ้นมาเพื่อเอาชนะคะคานศัตรู เมื่อข่าวสารข้อมูลบกพร่องการตัดสินนโยบายทางการเมืองก็ผิดพลาด ผลสุดท้ายก็จะถึงจุดจบขององค์จักรพรรดิและราชวงศ์ 

สิ่งซึ่งเรียนรู้จากประวัติศาสตร์จีนก็คือ ในแง่หนึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นในเมืองจีนอันเป็นประวัติศาสตร์นั้นอาจจะเกิดขึ้นในประเทศจีนเท่านั้น และไม่สามารถจะนำไปปรับเข้ากับสถานการณ์ที่อื่นได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองอีกมุมหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองจีนนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งจะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ใช้กันได้ทั่วไป เป็นต้นว่า ถ้าผู้นำคนใดถูกล้อมรอบด้วยบุคคลซึ่งขาดความรู้ หรือมุ่งหาผลประโยชน์ใส่ตัว ให้ข้อมูลที่ผิดๆ ผู้นำผู้นั้นไม่ว่าจะเป็นจักรพรรดิจีนในยุคโบราณ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรม หรือที่ใดก็ตาม ก็ย่อมดำเนินนโยบายผิดพลาดได้ ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์จีนโบราณจึงไม่ใช่ลักษณะพิเศษของจีนโบราณเท่านั้น หากแต่เป็นทฤษฎีซึ่งสามารถจะใช้ปรับกับที่อื่นๆ ได้ด้วยการเเพร่ขยายเเละการถ่ายทอดอารยธรรมของจีน

 อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้ง ในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การสร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับ วัฒนธรรมจีนโดยตรง 

  • ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการของจีน
  • ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิดคือ อินเดีย

พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาในจีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญ ที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป 


 


สมัยประวัติศาสตร์  


                       แหล่งอารยธรรมของจีนถือกำเนิดในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ทั้งนี้จีนเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” ในสมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) ระหว่าง 1,776-1,112 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือรูปภาพ เขียนบนกระดูกสัตว์หรือกระดองเต่า
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
           (1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (หรือสมัยคลาสสิก) เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงค์ชาง (Shang Dynasty) และสิ้นสุดในสมัยราชวงค์โจว (Chou Dynasty) ประมาณ 1,776 -221 ปีก่อนคริสต์ศักราช จีนมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านปรัชญา เช่น ลัทธิขงจื้อ (Confucianism) ลัทธิเต๋า (Taoism)
           (2) ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น (Chin Dynasty) เมื่อประมาณ 221 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งถึงตอนปลายของสมัยราชวงศ์ชิง หรือเช็ง (Ching Dynasty) ซึ่งเป็นราชวงค์สุดท้ายของจีน ในปี  ค.ศ. 1912 เป็นช่วงเวลายาวนานกว่า 2,000 ปี เป็นยุคที่จีนผนวกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลให้รวมอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน                
  
           (3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ตอนปลายสมัยราชวงศ์เช็ง( Ching Dynasty ) เป็นต้นมาเป็นยุคที่จีนเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก เกิดการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์เช็ง และสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นแทนที่ เป็นยุคที่จีนตกต่ำบ้านเมืองระส่ำระสายจนเกิดการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมในปี ค.ศ.1949ในที่สุด
           (4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 



อารยธรรรมอินเดีย




            อินเดีย เป็นต้นสายธารทางวัฒนธรรมของชาติตะวันออก ( ชนชาติในทวีปเอเชีย ) หลายชาติ เป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก บางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) อาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
1.  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ

     (1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน



                 (2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน



2.  สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด – อารยัน ( Indo – Aryan ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา
สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้

    (1) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ ( Gupta ) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพระพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว





 (2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล ( Mughul ) และเข้าปกครองอินเดีย
 (3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947






อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้


1.  สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่
ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และเมืองฮารัปปา ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian )



2.  สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ( Indo-Aryan ) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย
สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและ มหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์


ศิลปะวัฒนธรรมอินเดีย

อินเดียเป็นสังคมที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีศาสนา วรรณะ และภาษา เป็นปัจจัยหลักกำหนดรูปแบบสังคมและการเมือง อินเดียมีภาษาราชการกว่า 22 ภาษา ซึ่งฮินดีเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้กันมากที่สุด และใช้ภาษาอังกฤษในวงราชการและธุรกิจ แม้ว่าประชากรกว่าร้อยละ 82 นับถือศาสนาฮินดู แต่มีประชากรที่นับถือศาสนามุสลิม (13.4%)  ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย และปากีสถาน อีกทั้งยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น เช่น คริสเตียน ซิกข์ พุทธ และเชน การจัดลำดับชั้นทางสังคมและอาชีพในอินเดียเป็นการสะท้อนอิทธิพลของระบบวรรณะ
  1.  ระบบวรรณะ
ตั้งแต่สมัยโบราณวรรณะที่สำคัญมี 4 วรรณะ คือ
1) วรรณะพราหมณ์  ได้แก่  นักบวช ปัจจุบันอาจตีความไปถึงนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์และนักการเมือง
2) วรรณะกษัตริย์  ได้แก่  นักรบ ซึ่งอาจรวมไปถึงข้าราชการ
3) วรรณะแพศย์  ได้แก่  พ่อค้า นักธุรกิจ
4) วรรณะศูทร  ได้แก่  ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา กรรมกร และคนยากจน ซึ่งสามวรรณะแรกเป็นชนชั้นผู้ปกครอง วรรณะสุดท้ายเป็นผู้ถูกปกครองแม้ว่าวรรณะเหล่านี้เป็นที่เข้าใจทั่วไปในอินเดีย แต่ยังมีการแบ่งวรรณะต่ำสุดในในสังคมฮินดู เรียกกันว่าเป็นกลุ่มคนอันมิพึงแตะต้อง คือ จัณฑาล หรือเรียกชื่อใหม่ว่า ดาลิต มีความหมายว่า อันเป็นที่รักของพระเจ้า ซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกเลือกปฏิบัติ ได้รับโอกาสทางสังคมและอาชีพน้อยที่สุด ในสังคม การปฏิรูปเศรษฐกิจและกฎหมายของอินเดียในปัจจุบันได้พยายามลดช่องว่างของสังคมและการกีดกันทางวรรณะเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และอาชีพให้เท่าเทียมกันในสังคม เช่นมีโควตาพิเศษสำหรับนักศึกษาดาลิตในการเข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องสอบแข่งขัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกด้านวรรณะยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ ซึ่งสะท้อนออกมาในด้านความคิด วัฒนธรรมและการบริหาร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศิลปะวัฒนธรรมอินเดีย


อารยธรรมการเเพร่ขยายเเละการถ่ายทอดอารธรรมอินเดีย

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มน้ำสินธุ เป็นเขตที่ราบกว้างใหญ่ มีสาขาจำนวนมากไหลลงสู่ทะเลอาหรับ ทำให้ดินแดนนี้มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถเดินทางติดต่อกับดินแดนเมโสโปเตเมียซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโลกอีกแห่งหนึ่งได้ สภาพภูมิประเทศดังกล่าวทำให้ลุ่มน้ำสินธุเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมอินเดียโบราณ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ในพื้นที่ของอินเดียมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ด้วยทองคำและโลหะที่นำมาผสมเป็นสำริด ส่วนภูมิอากาศมีลักษณะแบบลมมรสุม ในฤดูร้อนจะมีลมที่พัดตามมหาสมุทรอินเดียทำให้ฝนตกทางตอนเหนือ ในฤดูหนาวจะมีลมมรสุมพัดผ่านทำให้ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคามีฝนตกชุก ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ และที่ราบสูงภาคกลางมีภูมิอากาศแห้งแล้ง น้ำที่ใช้ในการเกษตรได้จากแม่น้ำเป็นหลัก


ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของอินเดีย

มีเทือกเขาหิมาลัยที่มีความสูงชันขนานยาวเป็นพรมแดนทางตอนเหนือ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและทะเลทรายธาร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาและแม่น้ำสาขาทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้ลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นบริเวณที่ราบสูงกว้างใหญ่
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวทำให้อินเดียถูกแบ่งเป็นส่วนๆ การติดต่อเป็นไปด้วยความลำบาก และเป็นปราการธรรมชาติที่ทำให้อินเดียสร้างสมอารยธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ

อารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์

อารยธรรมอินเดียเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่มาก เช่นเดียวกับอารยธรรมอียิปต์และอารยธรรมเมโซโปเตเมีย แต่ที่ต่างกันคืออารยธรรมอินเดียเป็นอารยธรรมที่สืบสายกันมาไม่ขาดตอนจนถึงสมัยปัจจุบัน ไม่มีระยะเวลาใดที่อารยธรรมอินเดียถูกอารยธรรมต่างชาติเข้ามาทำลายจนต้องมีการเริ่มต้นใหม่ แต่การค้นคว้าเรื่องอารยธรรมอินเดียก็เป็นเรื่องที่ยากเพราะหลักฐานตัวเขียนที่เล่าเรื่องราวของอารยธรรมอินเดียที่เก่าที่สุดก็เก่าเพียงแค่สมัยพระเวท ที่เก่ากว่านั้นไปไม่มีหลักฐานตัวเขียนกล่าวถึง จะรู้เรื่องราวได้ก็ต้องอาศัยวิธีการของนักโบราณคดี และประเทศอินเดียก็ไม่มีนักโบราณคดีมาก่อนที่นักปราชญ์ชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอังกฤษจะเดินทางเข้ามาทำการขุดค้นในอินเดีย ดังนั้นความรู้เรื่องอารยธรรมอินเดียในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงเพิ่งรู้กันเมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีมานี้เอง
นักปราชญ์ชาวตะวันตกที่มีคุณูปการในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องอารยธรรมอินเดีย
– เซอร์วิลเลียม โจนส์ (Sir William Jones ค.ศ. 1746-1794)
ก่อนที่เขาจะมาอินเดียเขาก็ได้ตั้งทฤษฎีแล้วว่าภาษาต่างๆในยุโรปมีความเกี่ยวข้องกับภาษาเปอร์เซีย และเขาคิดว่าภาษาต่างๆในยุโรปและภาษาเปอร์เซียสืบเชื้อสายมาจากต้นตอเดียวกัน เมื่อมาถึงอินเดียเซอร์วิลเลียม โจนส์ก็เริ่มเรียนภาษาสันสกฤต แล้วเขาก็ออกวารสารวิชาการที่ชื่อ Asiatic Researchesผลงานวิชาการที่ลงในวารสารนี้ช่วยเปิดเผยความลับเกี่ยวกับอารยธรรมของอินเดียซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีผู้พูดถึง
นักปราชญ์ชาวตะวันตกที่มีคุณูปการในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องอารยธรรมอินเดีย
– เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม
เรียนจบวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้บรรจุมาเป็นทหารในประเทศอินเดียตั้งแต่ยังหนุ่ม พอเดินทางมาถึงประเทศอินเดียในค.ศ. 1831 เขาก็อุทิศเวลาเกือบทั้งหมดที่ว่างเว้นจากภารกิจประจำเพื่อขุดค้นทางโบราณคดีในประเทศอินเดีย ในค.ศ. 1862 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักสำรวจทางโบราณคดี ในตอนปลายของชีวิตเขาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลแห่งกองทัพอังกฤษ แต่งานที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขาคือการสำรวจทางโบราณคดีของประเทศอินเดีย
นักปราชญ์ชาวตะวันตกที่มีคุณูปการในการค้นคว้าหาความรู้เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องอารยธรรมอินเดีย
– เซอร์จอห์น มาร์แชลล์ (John Marshall)
พอถึงสมัยคริสตศตวรรษที่ยี่สิบอุปราชอินเดีย (Viceroy of India) ในขณะนั้นคือลอร์ด เคอร์ซัน (Lord Curzon)ได้ส่งเสริมวิชาโบราณคดีอย่างมาก ได้ให้จ้างนักโบราณคดีหนุ่มชื่อจอห์นมาร์แชลล์ (John Marshall) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ เซอร์จอห์น มาร์แชลล์เป็นผู้อำนวยการ (Director General) ของสำนักสำรวจทางโบราณคดี (The Archaeological Survey) ผลงานที่สำคัญของเซอร์จอห์น มาร์แชลล์ก็คือการขุดค้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียแล้วพบอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอินเดีย คืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (The Indus Civilization)
บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นแหล่งอารยธรรมอินเดียที่เก่าแก่มาก ปัจจุบันได้พบแหล่งโบราณคดีกว่า 60 แห่ง เมืองโบราณที่สำคัญ คือเมืองฮารัปปา และโมเฮนโจดาโร เมืองทั้งสองตั้งริมแม่น้ำสินธุ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน) การขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองทั้งสองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเจริญแบบอารยธรรมเมือง ตัวเมืองมีการวางผังเป็นย่านใหญ่ๆ แต่ละย่านมีตรอกแคบๆ เป็นตัวเชื่อมมีป้อมหรือมีที่หมั่นประจำเมือง มีที่อาบน้ำสาธารณะ แสดงให้เห็นความเชื่อในการชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนประกอบพิธีกรรม มีระบบการระบายน้ำ มีย่านการค้า และยังพบรูปปั้นที่ทำจากดินเผา ประชากรพื้นเมืองเชื่อว่าเป็นชนเผ่าทฺรวิฑ ดราวิเดียน(Dravidian) หรือทมิฬ เป็นชนเผ่าดั้งเดิมก่อนที่พวกอารยันจะอพยพเข้ามา
พวกดราวิเดียน เป็นพวกที่สร้างอารยธรรมนี้ ชนกลุ่มนี้รู้จักการใช้โลหะ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ รู้จักการทอผ้า เพาะปลูก สร้างที่อยู่ด้วยอิฐ ทำระบบชลประทาน และการเขียนอักษรรูปภาพ เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบทำจากเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หิน และสำริด และยังพบดวงตราที่มีรูปเทวดาอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยเสือ สิงห์ กรกะทิง แรด และยังพบศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ วัฒนธรรมการแต่งกายเป็นอีกสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง คือ การนำฝ้ายมาตัดเป็นเครื่องนุ่งห่ม และมีเครื่องประดับหลายชนิด พบแผ่นประทับตราที่มีลวดลายคนและสัตว์ มีจารึกตัวอักษรเป็นข้อความสั้นๆแต่ไม่มีใครสามารถอ่านออก เครื่องหมายเหล่านี้อาจเป็นกำเนิดของตัวอักษรอินเดีย อารยธรรมแม่น้ำสินธุเสื่อมลงเนื่องจากภัยธรรมชาติ คือ น้ำท่วมและพายุทราย ประกอบกับชนเผ่าอินโด-อารยันเข้ามารุกราน
ชนเผ่าอินโด-อารยัน พวกอารยันมีผิวขาว จมูกโด่ง รูปร่างสูง ซึ่งแตกต่างจากชาวพื้นเมืองเดิม ชาวอารยันได้ยึดบ้าน ทรัพย์สินของพวกทมิฬ ให้ชาวทมิฬเป็นผู้รับใช้ และถูกเรียกว่า ทาส ซึ่งเป็นที่มาของการเกิด “วรรณะ” การรวมกลุ่มของชาวอารยันเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว บิดามีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียว อาชีพของชาวอารยัน คือ การเลี้ยงปศุสัตว์ ชนเผ่าอินโด-อารยันมีสินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ผ้าไหม เครื่องเทศและน้ำหอม ชาวอารยันมีความสามารถในการประดิษฐ์อาวุธและสร้างรถม้าเคลื่อนที่เร็ว
อารยธรรมของพวกอารยัน อารยธรรมของพวกอารยันที่สำคัญ คือ การแต่งบทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในพิธีบูชายัญโดยนักบวช และบทสรรเสริญนี้ถ่ายทอดต่อกันมาโดยการท่องจำ ครั้นถึงประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการรวบรวมและจัดระเบียบ แต่ก็ยังไม่มีการจดบันทึก จนกระทั่งราวศตวรรษที่ 8 หรือศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช อินเดียจึงเริ่มมีการประดิษฐ์ตัวอักษร และมีการจดบันทึกคัมภีร์ทั้งหลาย

อารยธรรมอินเดียสมัยประวัติศาสตร์

แบ่งเป็น 3 สมัย
1.สมัยมหากาพย์
2.สมัยจักวรรดิ
3.สมัยมุสลิม


สมัยมหากาพย์

เป็นสมัยที่มีการใช้ตัวหนังสือบันทึกเรื่องราว การปกครองเริ่มแรกปกครองแบบชนเผ่าอารยัน มีราชาเป็นผู้ปกครองอำนาจสูงสุดเด็ดขาด ในสมัยนี้มีมหากาพย์ดัง 2 เรื่องคือ รามายณะของฤษีวาลมิกิ และมหาภารตะฤษีวยา ที่สะท้อนเกี่ยวกับการปกครองสังคม เศรษฐกิจ ของชาวอารยันสมัยนั้น มีความเชื่อในเรื่องการบูชายัน ภูตผีปีศาจ และอำนาจต่างๆทางธรรมชาติ ซึ่งต่อมาได้มีการบูชารูปปั้นของเทวะและเทวี ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบของศาสนาฮินดู ปลายสมัย ชนเผ่าอารยันขยายตัวออกไป มีการดำเนินการปกครองแบบราชาธิปไตยจากราชา เปลี่ยนเป็น กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ


สมัยจักรวรรดิ

เป็นสมัยที่มีความสำคัญต่อการวางพื้นฐานของแบบแผนทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมอินเดีย ที่ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงปัจจุบัน สมัยจักรวรรดิแบ่งเป็น 5 สมัยคือ
- จักรวรรดิมคธ
- จักรวรรดิเมารยะ
- สมัยแบ่งแยกและรุกรานจากภายนอก
- สมัยจักรวรรดิคุปตะ
- อินเดียหลังสมัยจักรวรรดิคุปตะ
-จักรวรรดิมคธ
ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกของลุ่มแม่น้ำคงคา เป็นแคว้นที่มีอนุภาพมากที่สุดในศตวรรษที่6 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงสองพระองค์คือ พระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าอชาตศัตรู ระบอบการปกครองกษัตริย์มีอำนาจสูงสุดมีขุนนาง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายการทหาร รวมเรียกว่า “มหามาตระ”
พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ทำให้จักรวรรดิมคธกลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันศาสนาพราหมณ์เสื่อมลง เนื่องจากการตีความที่มุ่งเน้นไปที่อิทธิปาฏิหารย์แห่งองค์เทพเจ้าเป็นหลัก แทนที่จะศึกษาเพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ตามหลักคำสอนในคัมภีร์ จักรวรรดิเมารยะ จักรวรรดิเมารยะ ในกลางศตวรรษที่4ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์นันทะที่ปกครองจักรวรรดิมคธเสื่อมอำนาจลง ราชวงศ์เมารยะได้มีอำนาจขึ้นปกครอง ปัจจุบัน คือพื้นที่ทางภาคเหนือของอินเดีย

ระเบียบการปกครอง

รวมอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์และเมืองหลวง จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุดทางด้านบริหาร กฎหมาย การศาลและการทหาร มีสภาเสนาบดีและสภาแห่งรัฐเป็นสภาปรึกษา กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง และทำนุบำรุงพุทธศาสนาอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังให้อิสรภาพในการเลือกนับถือศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพราหมณ์ ทรงยกเลิกการแบ่งชั้นวรรณะ

สมัยแบ่งแยกและการรุกรานจากภายนอก จากความเสื่อมอำนาจของราชวงศ์เมารยะมีผลกระทบต่ออินเดีย 2 ประการ
- อาณาจักรใหญ่น้อยแบ่งแยกออกเป็นอิสระ
- เกิดการรุกรานจาก กรีก อิหร่าน เปอร์เชีย ศกะ กุษาณะ
เมื่อมาตั้งถิ่นฐานก็ย่อมรับวัฒนธรรมอินเดยไว้ด้วย และกรีกเปอร์เชียก็ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนเองเช่น ด้านศิลปกรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรม และประติมากรรมให้แก่อินเดียเช่นกัน

อารยธรรมสมัยคุปตะ ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองของอินเดีย เนื่องจากพระเจ้าจันทรคุปต์มีความพยายามที่จะฟื้นฟูอาณาจักรมคธให้รุ่งเรือง
มีมหาวิทยาลัยต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยพาราณสี มีเมืองหลายเมืองกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษา เช่น เมืองสาญจี การแพทย์ในสมัยนี้มีวิธีการผ่าตัด และเรียนรู้การทำสบู่และปูนซีเมนต์ ทรงให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนาเป็นอย่างดีถึงแม้พระองค์จะนับถือพราหมณ์ ทรงอนุญาติให้ชาวลังกามาสร้างวัดพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทขึ้น หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมานำพระไตรปิฏกกลับไปเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้แพร่กระจายไปยังดินแดนต่างๆ
หลังสมัยจักรวรรดิคุปตะ ราชวงศ์คุปตะเริ่มเสื่อมอำนาจลงชนต่างชาติได้รุกรานอินเดีย ภาคเหนือแบ่งแยกเป็นแคว้นเล็กๆ มีราชวงศ์ต่างๆเข้ามายึดครอง หลังการสิ้นสุดจักรวรรดิคุปตะ ชนชาติที่มากรุกรานนับถือพราหมณ์ จึงได้กวาดล้างชาวพุทธให้สิ้นซาก และวัด แต่พระพุทธศาสนาในอินเดียยังคงรุ่งเรืองอยู่

สมัยมุสลิม

มุสลิมที่เข้ารุกรานอินเดีย คือมุสลิมเชื้อสายเติร์กจากเอเชียกลาง เข้าปกครองอินเดียภาคเหนือ ตั้งเมืองเดลี เป็นเมืองหลวง เมื่อเข้ามาปกครองมีการบีบบังคับให้ชาวอินเดียมานับถือศาสนาอิสลาม ราษฎรที่ไม่นับถือศาสนาอิสลามจะถูกเก็บภาษี “จิซยา” ในอัตราสูง หากหันมานับถือจะได้รับการยกเว้น การกระทำของเติร์กส่งผลให้สังคมอินเดียเกิดความแตกแยกระหว่างพวกฮินดูและมุสลิมจนถึงปัจจุบัน สังคมและวัฒนธรรมอินเดีย
ระบบวรรณะ
ในคัมภีร์ 4 วรรณะ ดังนี้
1. วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่ กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวชก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา
2. วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือคณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม
3.วรรณะแพศย์ เกิดจากโคนขา หรือ สะโพกของพระพรหมของพระพรหมมีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร
4. วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีดำหรือสีอื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
ยังมีอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างวรรณะกัน ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม

ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย
อินเดียเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาและศาสนาเชน เป็นผลมาจากการคิดไตร่ตรองทางปรัชญา เพื่อแสวงหาสัจจะการดำเนินชีวิต และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีรากฐานมาจากคิดค้นสร้างระบบปรัชญา เพื่อสนับสนุนความเชื่อและความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงพระเจ้า ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติศาสนกิจ

เทพเจ้าของอินเดีย
ในบรรดาเรื่องราวของเทพเจ้าของชนชาติทั้งหลายนั้น เทพเจ้าของอินเดียนับว่ามีเรื่องราวและประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนมากกว่าชาติอื่น และกล่าวกันว่า ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ชนชาติอริยกะ หรืออินเดียอิหร่านที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีการนับถือเทพเจ้าและมีคัมภีร์พระเวทเกิดขึ้น พวกอริยกะ หรืออารยันนั้น แต่เดิมก็นับถือธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท้องฟ้า ลม และไฟ ต่อมามีการกำหนดให้ปวงเทพเกิดมีหน้าที่กันขึ้น โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้นๆ แล้วก็เกิดมีหัวหน้าเทพเจ้าขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์
สมัยของพระเวท จึงมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีมาก่อนพุทธกาลราว 1,000 ปีและบางตำราบอกว่า เทพเจ้าดั้งเดิมของพวกอริยกะนั้นมีพระอินทร์ พระสาวิตรี พระวรุณ และพระยม (พระสาวิตรี คือ ดวงอาทิตย์) ส่วนอีกตำราหนึ่งกล่าวว่า เทพเจ้าที่เก่าที่สุด คือ พระอินทร์ พระพฤหัสบดี พระวรุณ และพระยม เทพที่พราหมณ์ยกย่องนั้น มีเพียงไม่กี่องค์ที่ปรากฏอยู่ในพระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ ที่ถือว่ามีฤทธิ์อำนาจมาก
พวกพราหมณ์จะทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและติดต่อกับเทพเจ้า จึงเป็นฐานะที่ผู้คนยกย่องนับถือที่สุดในระบบวรรณะ
จากหลักฐานโบราณที่เป็นจารึกบนแผ่นดินเหนียวอายุราว 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่าแผ่นจารึก โบกาซ คุย หรือจารึก เทเรีย ซึ่งขุดพบที่ตำบลดังกล่าว ของดินแดนแคปปาโดเซีย ในตุรกี จารึกนี้ ได้ออกนามเทพเจ้าเป็นพยานถึง 4 องค์ นั่นก็คือ พระอินทร์ (lndra) เทพเจ้าแห่งพลัง มิทระ (Mitra) พระวรุณ (Varuna) และ นาสัตย์ (Nasatya) คือ พระนาสัตย์อัศวิน (Asvins) นับเป็นชื่อเทพเจ้าที่เก่าที่สุดที่ถูกเอ่ยนาม แสดงว่าลัทธิพราหมณ์ มีมายาวนานยิ่งนัก
ศิลปกรรมอินเดีย
งานสร้างสรรค์ศิลปกรรมแขนงต่างๆของอารยธรรมอินเดียมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเชื่อทางศาสนา ศิลปกรรมแขนงต่างๆของอินเดียจึงมักปรากฏนับเนื่องในศาสนา ทั้งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนา และศาสนาเชน
ความศรัทธาและความเคารพต่อศาสนาของชาวอินเดีย ทำให้มีการสร้างกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของงานศิลปะต่างๆมีลักษณะร่วมกันอย่างมาก อิทธิพลศิลปะจากภายนอก เช่น เปอร์เซีย กรีก แม้จะมีผลสำคัญต่อพัฒนาการทางศิลปะอินเดีย แต่ภายในเวลาไม่นานก็จะถูกกลมกลืนเข้ากับศิลปะอินเดีย
ศิลปกรรมของอินเดียเริ่มปรากฏหลักฐานในอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยต่อมาชาวอารยันเข้ามาในอินเดีย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานงานทางศิลปะของพวกอารยันวิวัฒนาการทางศิลปะของอินเดียจึงขาดช่วงเป็นเวลาเกือบพันปี จนกระทั่งถึงสมัยพุทธกาลจึงได้ปรากฏหลักฐานทางศิลปะที่ชัดเจนขึ้นทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือแถบลุ่มน้ำสินธุ เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิเปอร์เซียและศิลปะแบบเฮลเลนิสติกของกรีก
อิทธิพลของศิลปะภายนอกดังกล่าวได้พัฒนามาสู่ศิลปกรรมสมัยราชวงศ์เมารยะ ซึ่งเป็นศิลปะสมัยแรกที่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ในช่วงสมัยนี้พระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสร้างสรรค์ศิลปกรรม และยังมีความสำคัญต่อสกุลศิลปะในสมัยต่อมา
ในสมัยราชวงศ์คุปตะ ศิลปะแขนงต่างๆได้พัฒนาไปมากจนกระทั่งได้ก่อกำเนิดยุคทองทางศิลปะของอินเดีย จนกระทั่งหลังศตวรรษที่ 12-13 แบบอย่างของศิลปะอิสลามแพร่ขยายอย่างกว้างขวาง ขณะที่ศิลปะในพระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปและศิลปะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเสื่อมโทรมเป็นเวลานานหลายศตวรรษ
สถาปัตยกรรม
การขุดพบซากเมืองฮารัปปาและโมเฮนโจดาโรสมัยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุทำให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมอินเดียมีมาเกือบ 5,000 ปีแล้ว มีการวางผังเมืองและการก่อสร้างซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
หลักฐานทางสถาปัตยกรรมของอินเดียในสมัยต่อมากำหนดอายุได้ราวต้นพุทธกาล มีการพบซากเมืองโบราณหลายสิบเมือง บริเวณสองฟากฝั่งลุ่มน้ำคงคาจนถึงที่ราบลุ่มปัญจาบ แต่ร่องรอยที่พบไม่ได้แสดงพัฒนาการสืบเนื่องทางสถาปัตยกรรมจากสมัยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุสถาปัตยกรรมที่เป็นศิลปะอย่างชัดเจนปรากฏขึ้นในสมัยราชวงศ์เมารยะ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากจักรวรรดิเปอร์เซีย ได้แก่ สถูป เสาหิน ตลอดจนฐานรากของพระราชวัง สถาปัตยกรรมดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเพื่อแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ หรือเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์สำคัญ เช่น พระสถูปที่สาญจี เสาหินที่เมืองสารถี และพระราชวังของพระเข้าอโศกมหาราชที่เมืองปาฏลีบุตร สถาปัตยกรรมอินเดียสมัยต่อมาเป็นสมัยที่ราชวงศ์กุษาณะมีอำนาจเหนืออินเดียทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และราชวงศ์มธุราในภาคกลางของอินเดีย เกิดศิลปะสำคัญขึ้น 3 แบบ คือ ศิลปะแบบคันธาระ แบบมถุรา และแบบอมราวดี ซึ่งเป็นศิลปะเนื่องในพระพุทธศาสนา
ในสมัยราชวงศ์คุปตะและหลังสมัยคุปตะ สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมีทั้งที่เนื่องในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูควบคู่กันไป มีการสร้างสถูป เจดีย์ และอาคารทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นอีกหลายแบบรวมทั้งการสร้างเทวสถานในนิกายต่างๆของศาสนาฮินดู
ในสมัยมุสลิม สถาปัตยกรรมอินเดียจะผสมระหว่างศิลปะฮินดูและเปอร์เซีย เช่น สุสานตาชมะฮัล ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมหินอ่อนที่มีชื่อเสียงมาก สร้างในสมัยพระเจ้าชาห์จะฮาน ( Shah Jahan ค.ศ.1628-1658 ) กษัตริย์ราชวงศ์มุคัล เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนางมุมตาซ มะฮัล (Mumtaz Mahal) มเหสีของพระองค์
ประติมากรรม
ประติมากรรมรุ่นแรกๆของอินเดียอยู่ในสมัยราชวงศ์เมารยะ เป็นประติมากรรมลอยตัวขนาดใหญ่ สลักจากหิน มีรูปร่างหนัก แข็งกระด้าง แสดงท่าหยุดนิ่ง เช่น รูปยักษ์ รูปสตรี นอกจากนี้ก็มีประติมากรรมภาพสลักนูนต่ำเป็นภาพพุทธประวัติ ภาพชาดกประดับตกแต่งรั้ว ซุ้มประตู และฐานสถูป เช่น ภาพสลักนูนต่ำที่เมืองภารหุตและที่สาญจี
ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูปสมัยแรก คือ พระคันธาระ ( คริสต์ศตวรรษที่1-2 ) โดยรับอิทธิพลจากศิลปะกรีก เห็นได้ชัดจากพระหัตถ์และพระวรกาย ตลอดจนริ้วจีวรเป็นแบบกรีก พบมากในบริเวณที่ราชวงศ์กุษาณะปกครอง คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียรวมตลอดถึงอัฟกานิสถานของเอเชียกลาง
ประติมากรรมพระพุทธรูปของศิลปะเมถุราซึ่งอยู่ในระยะเวลาเดียวกัน ได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบคันธาระผสมกับลักษณะพื้นเมือง โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนศิลปะคันธาระ แต่พระเศียรพระพุทธรูปเกลี้ยง พระพักตร์กลม จีวรเป็นริ้วห่มเฉียงดูนุ่มนวล นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปยักษ์ ยักษิณี นาคและนาคี ท้าวกุเวร พระโพธิสัตว์ รูปกษัตริย์ราชวงศ์กุษาณะ และรูปติรภังกรของศาสนาเชน
พระพุทธรูปในศิลปะแบบอมราวดีเป็นแบบผสมอิทธิพลของกรีก วงพระพักตร์ของพระพุทธรูปค่อนข้างยาว พระเกตุมาลาปรากฏอย่างชัดเจนบนพระเศียร และมีขมวดพระเกศาเวียนขวาเป็นขมวดเล็กๆ พระพุทธรูปครองจีวรหนาและมักห่มเฉียง
ประติมากรรมสมัยคุปตะ เป็นศิลปะที่แสดงศิลปะแบบอินเดียอย่างแท้จริง มีทั้งพระพุทธรูปและเทวรูปในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มักมีขนาดใหญ่โต เช่น พระพุทธรูปปางปรินิพพานในถ้ำอชันตะ เทวรูปเครื่ององค์ของพระมเหศวรมูรติและพระอุมาที่ถ้ำเอเลฟันตา พระพุทธรูปที่เมืองบามิยานในอัฟกานิสถาน
สมัยหลังคุปตะ ประติมากรรมอินเดียมักจะสร้างตามกฎเกณฑ์มากขึ้นและไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ ลักษณะโดยทั่วไปจะมีรูปร่างหนักและหนา ความเป็นธรรมชาติน้อยลง มีการประดับตกแต่งเพิ่มขึ้น พบจำนวนมากที่ถ้ำอชันตะ รวมทั้งเกาะลังกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จิตรกรรม

จิตรกรรมสมัยราชวงศ์เมารยะส่วนใหญ่สูญหายไปหมดแล้ว โดยเฉพาะจิตรกรรมที่ใช้ตกแต่งภาพปูนปั้นล้อมรอบผนังสถูป จิตรกรรมเก่าสุดที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันพบที่เพดานถ้ำโดยคีมารา ในทิวเขารามคฤหะ ภาคตะวันออกของอินเดีย วาดขึ้นด้วยสีดำ ขาว และแดง เป็นภาพเขียนอย่างง่ายๆค่อนข้างหยาบ
จิตรกรรมอินเดียสมัยต่อมาอยู่ในสมัยศิลปะอมราวดีเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำที่อชันตะ แม้ภาพจะลบเลือนแต่แสดงให้เห็นถึงความงดงามของลายเส้นที่ทำให้ภาพมีความอ่อนช้อย การจัดวางภาพบุคคลและและลวดลายเครื่องประดับมีลักษณะตำแหน่งที่ชัดเจน
จิตรกรรมสมัยคุปตะและหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดแห่งงานจิตรกรรมของอินเดีย ปรากฏอยู่อย่างสมบูรณ์และมีจำนวนนับสิบแห่ง ที่ผนังถ้ำอชันตะเป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาเล่าเรื่องชาดกต่างๆราว 30 เรื่อง และพุทธประวัติบางตอน ภาพเกี่ยวกับประเพณีชีวิตประจำวันของประชาชนและชีวิตในราชสำนัก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยประโยชน์จากเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกหลังจากยุครุ่งเรืองแห่งจิตรกรรมของอินเดียก็เสื่อมลง

นาฏศิลป์และสังคีตศิลป์

มีความสำคัญต่ออารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่โบราณ ถือเป็นศิลปะชั้นสูง และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดีย นาฏศิลป์และสังคีตศิลป์จึงเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวอินเดียทั้งทางด้านศาสนาและชีวิตประจำวัน
นาฏศิลป์ที่เกี่ยวกับการฟ้อนรำมีกำเนิดจากวัด ราชสำนัก และจากท้องถิ่นพื้นบ้านก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1-2 นาฏศิลป์ของอินเดียเป็นแบบแผนมั่นคงแล้ว เพราะในตำรานาฏยศาสตร์ เรียบเรียงโดยภรตมุนี ได้กล่าวถึงนาฏยศาสตร์ในทุกๆด้านอย่างละเอียดตั้งแต่การฟ้อนรำ การแสดงออกของอารมณ์ต่างๆ การแต่งตัว การแต่งหน้า อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการแสดง ภาษาที่ใช้ในการจัดแสดง ตลอดจนถึงเรื่องการสร้างโรงละครและพิธีกรรมต่างๆ
ส่วนการดนตรีหรือสังคีติศิลป์ นับตั้งแต่สมัยพระเวท บทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลายถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดในสังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีสากลที่บรรเลงในศาสนสถานและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ดนตรีในราชสำนัก และดนตรีท้องถิ่น นิยมบรรเลงประกอบการแสดงละคร ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบบทสวดและการร่ายรำที่สำคัญ คือ วีณาหรือพิณใช้สำหรับดีด เวณุหรือขลุ่ย และกลอง
วรรณกรรม
พัฒนาการทางวรรณกรรมของอินเดียเริ่มจากการเป็นบทสวดในพิธีบูชาเทพพระเจ้าซึ่งท่องจำด้วยปากเปล่าถ่ายทอดสืบต่อกันมานานนับพันปี วรรณกรรมอินเดียเน้นหนักไปทางด้านศาสนา แม้ว่าภายหลังเนื้อหาจะขยายขอบเขตออกไปกลายประเภท แต่วรรณกรรมเหล่านั้นก็ยังอ้างเรื่องราวทางศาสนาอยู่เสมอ
วรรณกรรมอินเดียแบ่งตามพัฒนาการทางภาษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1) วรรณกรรมภาษาพระเวท หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้ภาษาสันสกฤตโบราณของพวกอารยัน ประกอบด้วย ฤคเวท แต่งเป็นบทร้อยกรองสำหรับใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า ถือเป็นวรรณกรรมเริ่มแรกที่สุด ยชุรเวท เป็นบทร้อยแก้วว่าด้วยการประกอบแบบแผนพิธีกรรมและพิธีบวงสรวง สามเวท เป็นบทร้อยกรองสวดในพิธีถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้าองค์อื่น อาถรรพเวท เป็นบทรวบรวมเวทย์มนตร์คาถาอาคม
2) วรรณกรรมตันติสันสกฤต หรือ วรรณกรรมสันสกฤตแบบแผน คือวรรณคดีซึ่งใช้ภาษาสันสกฤตที่วิวัฒนาการมาจากภาษาเก่าของพระเวท รูปแบบคำประพันธ์มักเป็นประเภทร้อยกรองที่เรียกว่า โศลก งานสำคัญคือ มหาภารตะ และ รามายณะ ถือเป็นมหากาพย์สำคัญที่สุดของอินเดีย มหากาพย์ทั้งสองเรื่องนี้มีเรื่องราวสะท้อนให้เห็นลักษณะสังคม การเมือง ศาสนา และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียในช่วงระยะเวลาประมาณระหว่าง 1,000-500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเรียกว่า ยุคมหากาพย์
3)วรรณกรรมสันสกฤตผสม ภาษาสันสกฤตผสมเป็นภาษาสันสกฤตที่แตกต่างไปจากภาษาพระเวทและตันติสันสกฤต ใช้เขียนหลักธรรมและเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา งานนิพนธ์เป็นแบบร้อยแก้ว งานนิพนธ์สำคัญและมีชื่อเสียงมาก ได้แก่ พุทธจริต ของอัศวโฆษ
4) วรรณกรรมภาษาบาลี ใช้ในวรรณกรรมพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เขียนเป็นร้อยแก้ว อธิบายหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎกชาดก วรรณกรรมภาษาทมิฬ ซึ่งดัดแปลงจากวรรณกรรมสันสกฤตส่วนวรรณกรรมที่เป็นของทมิฬเองจริงๆ ไม่มีหลักฐานปรากฏ วรรณกรรมสันสกฤตที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมภาษาทมิฬมาก คือ มหาภารตะ รามายณะ และคัมภีร์ปุราณะ
ความก้าวหน้าทางวิทยาการของอินเดีย
วิทยาการสาขาต่างๆของอินเดียที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมีความสมบูรณ์น้อยมากมักจะพบหลักฐานอยู่น้อยและกระจัดกระจาย
ภาษาศาสตร์
ภาษาสันสกฤตมีความสำคัญอย่างมากต่ออารยธรรมอินเดีย เป็นภาษาที่ใช้อยู่ในคัมภีร์พระเวท ซึ่งชาวอินเดียเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าประทาน จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ มีการแต่งตำราว่าด้วยไวยากรณ์ขึ้นหลายเรื่อง เช่น นิรุกตะ ของยาสกะ ( ประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) อธิบายประวัติที่มาและความหมายของคำ โดยเลือกคำมาจากคัมภีร์พระเวท หนังสือที่สำคัญมากอีกเล่มหนึ่ง คือ อัษฎาธยายี ของปาณินิ ( ราว 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) นักไวยากรณ์คนสำคัญหนังสือเล่มนี้ยังมีต้นฉบับสมบูรณ์ถึงปัจจุบัน เป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่วางหลักเกณฑ์ไว้อย่างรัดกุมเกี่ยวกับการใช้ภาษาสันสกฤต
ชาวอินเดียให้ความสนใจเรื่องภาษาศาสตร์มาก มีการแต่งหนังสือศัพทานุกรม หรือโกศะขึ้นหลายเล่ม โดยรวบรวมศัพท์และความหมายที่ถูกต้องของศัพท์ไว้ เมื่อมุสลิมเติร์กเข้าปกครองอินเดียตอนเหนือ ได้นำเอาภาษาสันสกฤต ภาษาอารบิก และภาษาเปอร์เซียมาผสมกันเป็นภาษาใหม่ เรียกว่า ภาษาอูรดู ( Urdu ) ซึ่งเป็นภาษาที่มุสลิมใช้พูดกันในอินเดียปัจจุบัน

ธรรมศาสตร์และนิติศาสตร์

ธรรมศาสตร์ในทัศนะของอินเดียมีความหมายกว้าง คือ เป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี ศีลธรรม และหน้าที่ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากธรรมสูตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์พระเวท หนังสือเล่มแรกที่รวบรวมกฎและหน้าที่เกี่ยวกับฆราวาส คือ มนูสมฤติ หรือ มานวธรรมศาสตร์
เขียนขึ้นระหว่าง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง ค.ศ. 200 กล่าวถึงการสร้างโลก กฎหมายแพ่ง-อาญา หน้าที่ของวรรณะต่างๆ ชีวิตของคฤหัสถ์ การออกบวช ชีวิตในภพหน้า และการเข้าถึงโมกษะ เป็นการแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์ สังคมมนุษย์ และอุดมคติสูงสุดของมนุษย์ภายใต้กฎเกณฑ์และหน้าที่ที่รวมกัน เรียกว่า ธรรมศาสตร์
นิติศาสตร์หรือาถรรกศาสตร์ หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองการปกครองและความมั่งคั่งของสังคมบ้านเมือง ดังนั้นจึงเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการปกครอง การบริหารบ้านเมืองเพื่อนความรุ่งเรืองมั่งคั่ง งานเขียนเล่มสำคัญที่สุดคือ อรรถศาสตร์ ของ เกาฏิลยะ
เขียนขึ้นราว 400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง โดยไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเหมือนธรรมศาสตร์ เนื้อหากล่าวถึงหน้าที่ของกษัตริย์ วินัยขององค์รัชทายาท คุณสมบัติของผู้ปกครองประเทศ การปกครองรัฐ การอุตสาหกรรม กฎหมายแพ่ง-พาณิชย์ กฎหมายอาญา การทหาร การเมือง เงินเดือนของข้าราชการ วิธีเอาชนะสงคราม

แพทยศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงออกว่าการแพทย์ของอินเดียมีมานานแล้ว ในจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชกล่าวถึงโรงพยาบาลสำหรับรักษาผู้เจ็บป่วย และในบันทึกของเมกัสเธนีส ทูตกรีกที่เข้ามายังกรุงปาฏลีบุตรในสมัยพระเจ้าจันทรคุปต์กล่าวถึงเรื่องการแพทย์ นอกจากนี้มีหนังสือหลายเล่มกล่าวถึงวิชาการแพทย์ เช่น อรรถศาสตร์ ระบุถึงการใช้ยาพิษ หนังสือ มหาภาสนะ ของปตัญชลี มีศัพท์ว่า ไวทยกัม ซึ่งหมายถึง อายุรเวทหรือแพทยศาสตร์นั่นเอง คัมภีร์บาลี ของฝ่ายพระพุทธศาสนากล่าวถึงชีวกะ แพทย์ผู้มีชื่อเสียง
ยังมีตำราทางอายุรเวทของอินเดียโบราณที่สำคัญอีกหลายเล่ม เช่น จรกะสังหิตา ของจรกะ เขียนขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 กล่าวถึงเรื่องยารักษาโรค อาหาร กายวิภาค และชีววิทยา ว่าด้วยสัตว์แรกเกิด อาการของโรค การศึกษาเกี่ยวกับอายุรเวททั่วไป และตำรา สุศรุตสังหิตา แต่งโดย สุศรุต กล่าวถึง ศัลยศาสตร์ และแปลเป็นภาษาอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 8

ชโยติษ ( ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ )

ชโยติษเป็นศาสตร์ที่ใช้ประกอบกับคัมภีร์พระเวท ในระยะแรกหมายถึงดาราศาสตร์เพื่อใช้ประกอบยัญกรรมและพิธีกรรมตามคัมภีร์พระเวท ในการประกอบพิธี ฤกษ์ยามมีความสำคัญมาก จึงต้องอาศัยวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ดวงดาวที่โคจรมาอยู่ในตำแหน่งต่างๆในแต่ละช่วงเวลา การโคจรของดวงดาวยังมีอิทธิพลต่อชีวิตทั้งหลาย ทำให้ชโยติษในความหมายของดาราศาสตร์ผนวกเข้ากับโหราศาสตร์
ขณะเดียวกันการค้นหาตำแหน่งต่างๆของดวงดาวทำให้เกิดศาสตร์การคำนวณหรือคณิตศาสตร์ ซึ่งรวมถึงเรขาคณิต พีชคณิต และตรีโกณมิติ อินเดียโบราณได้พัฒนาวิทยาการทางด้านคณิตศาสตร์มาก ชาวอินเดียเป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์เลข 0 ขึ้นใช้ ทำให้มีหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน ในการคำนวณได้โดยไม่สับสน ต่อมาพวกอาหรับรับเลข 0 ไปใช้ และถ่ายทอดให้กับชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง ส่วนเรขาคณิต พีชคณิต และตรีโกณมิติ ชาวอินเดียได้รับอิทธิพลมาจากกรีก
อิทธิพลอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อภูมิภาคต่างๆของโลก

การเผยแพร่และการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย

พัฒนาการหลายพันปีของอารยธรรมอินเดียแพร่ขยายเข้าไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชียโดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้ผสมผสานกับอารยธรรมแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมนั้นๆ
ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนานิกายมหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีน ทั้งในฐานะศาสนาสำคัญและในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะจีน
สำหรับภูมิภาคเอเชียกลางนั้น กลุ่มชนต่างๆในภูมิภาคนี้มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกับชาวอินเดียมาตั้งแต่ยุคสมัยแรกๆ อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่ปรากฏชัดเจน คือ ศาสนสถาน สิ่งก่อสร้าง รวมทั้งศิลปวัตถุในพุทธศาสนานิกายมหายานแต่นับจากคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา เมื่ออำนาจทางการเมืองของพวกมุสลิมจากตะวันออกกลางขยายเข้ามาในเอเชียกลาง อารยธรรมอิสลามจึงเข้ามาแทนที่ และมีอิทธิพลเหนือกลุ่มชนต่างๆมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนดินแดนในตะวันออกกลางมีการติดต่อกับอินเดียมาตั้งแต่อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิเปอร์เซียแผ่อำนาจทางการเมืองเข้ามาปกครองลุ่มน้ำสินธุ และพวกกรีกได้เข้ามามีอำนาจทางการเมืองสืบแทน ต่อมาอินเดียจึงได้รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เซียและของกรีกโดยเฉพาะทางด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกรีกอย่างชัดเจน นอกจากนี้ก็มีทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ พีชคณิต ตรีโกณมิติ ซึ่งได้รับมาจากกรีก
ส่วนอิทธิพลของเปอร์เซียจะปรากฏในรูปของการแกครองและสถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจอะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อนสร้างศาสนาสถาน สำหรับอารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้กับดินแดนในตะวันออกกลางนำเอาวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียเด่นชัดมากที่สุด คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนำอารยธรรมอินเดียมาเผยแพร่ ขณะเดียวกันคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เดินทางไปอินเดียด้วยจุดประสงค์ต่างๆ ทั้งการจาริกแสวงบุญและการค้า และได้นำอารยธรรมอินเดียกลับมาเผยแพร่ในดินแดนของตนเอง
อารยธรรมอินเดียปรากฏชัดอยู่ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมภาคนี้ ศิลปกรรมอินเดียทุกยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นศิลปะอมราวดี มถุรา คุปตะ ปาละ และเสนะ ปรากฏชัดอยู่ตามศาสนสถานและศิลปวัตถุทั่วดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตัวอักษรอินเดียก็นับเป็นมรดกสำคัญที่ตกทอดมาถึงภูมิภาคนี้ด้วย

อารยธรรมอินเดียในสมัยต่างๆ
พวกอินโดอารยัน ได้อพยพมาจากที่ราบภาคกลางของเอเชีย ใกล้ทะเลสาบแคสเปียน บุกรุกเข้ามาทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือบริเวณช่องแคบไคเบอร์ เข้าสู่อินเดียบริเวณลุ่มน้้าสินธุ ได้ท้าการรุกรานพวกดราวิเดียน ชาวพื้นเมืองที่อาศัยบริเวณนั้นถอยร่นลงมาทางใต้ แล้วเข้าครอบครองลุ่มแม่น้้าสินธุแทน และได้สร้างสรรค์อารยธรรมที่มีความโดดเด่นทางภาคเหนือของอินเดีย
ผลงานทางอารยธรรมที่สาคัญของพวกอินโด-อารยัน
ช่วงเวลาที่ชาวอารยันเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียก่อนที่จะมีพัฒนาการไปสู่สมัยจักรวรรดิ แบ่งได้ 2 ยุค คือ ยุคพระเวท และยุคมหากาพย์ ซึ่งน้าไปสู่การเกิดศาสนาเชนและศาสนาพุทธ
อินโดอารยัน
ช่องเขาไคเบอร์
อินโดอารยัน2
แผนที่
  • ยุคพระเวท
             ยุคพระเวท คือ ช่วงแรกที่ชาวอารยันเริ่มเข้ามาในอินเดีย หลักฐานที่กล่าวถึงเรื่องราวของชาวอารยันช่วงนี้ คือ คัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นต้าราที่รวบรวมโคลงและบทสวดทางศาสนา อารยธรรมยุคมหากาพย์ปรากฏในลักษณะต่างๆดังนี้
    • การปกครองอาศัยรวมกันเป็นเผ่า มีผู้น้า คือ ผู้ใหญ่บ้าน มีหน้าที่แจกจ่ายที่ดินและเก็บภาษี
    • สร้างที่อยู่โดยก่อก้าแพงด้วยโคลน พื้นปูด้วยดินเหนียว หลังคามุงด้วยหญ้า
    • ด้ารงชีพด้วยการเลี้ยงปศุสัตว์ทั้ง วัว ม้า แพะ แกะ ท้าการเกษตรทั้งท้านาและท้าไร่
    • งานหัตถกรรมฝีมือเช่น ช่างปั้น ช่างไม้ ช่างท้าอาวุธ
ยุคมหากาพย์
คัมภีร์พระเวท
ยุคมหากาพย์3
คัมภีร์พระเวท
ยุคมหากาพย์2
ฤคเวท
  • ยุคมหากาพย์
          ยุคมหากาพย์ คือ ช่วงเวลาที่ชาวอารยันได้ขยายตัวเต็มที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางใต้แถบลุ่มแม่น้้าคงคา อารยธรรมยุคมหากาพย์ปรากฏในลักษณะต่างๆดังนี้
    • การปกครองลักษณะคล้ายนครรัฐ เป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน แคว้นที่มีชื่อเสียงและมีอ้านาจมากในสมัยนั้น คือ แคว้นมคธ
    • เรื่องราวของชาวอารยันปรากฏออกมาในลักษณะของวรรณคดี 2 เรื่อง คือ รามายณะและมหาภารตะ สะท้อนให้เห็นถึงการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจของชาวอารยัน
    • มีการน้าระบบวรรณะมาใช้เพื่อแบ่งแยกชาวอารยันและพวกดราวิเดียน รวมถึงชาวอารยันด้วยกันเอง โดยแบ่งเป็น 4 วรรณะคือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร พวกที่ท้าผิดกฎเกณฑ์ขอระบบวรรณะ เรียกว่า จัณฑาล
    • ยุคมหากาพย์ศาสนาพราหมณ์มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมามีการปรังปรุงความเชื่อและค้าสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาฮินดู เทพเจ้าที่นับถือสูดสุดมี 3 พระองค์ เรียกว่า ตรีมูรติ ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิว
    • ความเชื่อ โคลง บทสวดทางศาสนา ถูกรวบรวมไว้ในคัมภีร์พระเวท แบ่งเป็น 3 ส่วน เรียกว่า ไตรเวท ฤคเวช ยชุรเวทและสามเวท และยังมีเวทที่เกิดขึ้นในสมัยหลังเรียกว่า อถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิษัท
    • ความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ ท้าให้พวกพราหมณ์มีอ้านาจมากในสังคม เกิดความไม่ เสมอภาค ท้าให้เกิดศาสนาที่ส้าคัญขึ้นอีก 2 ศาสนา เพื่อสร้างความเสมอภาคและความสงบสุขในสังคม ได้แก่
      • ศาสนาเชน ผู้ก่อตั้ง คือ พระมหาวีระ หลักความเชื่อที่ส้าคัญของศาสนาเชน คือ การท้าใจให้บริสุทธิ์ไม่เน้นความทุกข์ทางกายเพื่อการหลุดพ้นสู่โมกษะ
      • ศาสนาพุทธ ผู้ก่อตั้ง คือ พระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะ หลักค้าสอนที่ส้าคัญ คือ อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ยุคพระเวท


อารยธรรมเมโส

(อังกฤษ: Mesopotamia; กรีก: Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso = กลาง + potamia = แม่น้ำ) โดยมีนัยหมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสกับยูเฟรทีส" ดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" (Fertile Crescent) ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรทีส (ปัจจุบันคือดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศอิรัก) ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำทั้งสองสายเป็นพื้นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้กลุ่มชนชาติต่างๆเข้ามาทำมาหากินและสร้างอารยธรรมขึ้น รวมทั้งถ่ายทอดอารยธรรมจากกลุ่มหนึ่งสู่กลุ่มหนึ่ง ทำให้เกิดอารยธรรมแบบผสม
เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบนเทือกเขาในอาร์มีเนีย น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลายไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สิน และชีวิตผู้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวณนี้ แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบั่นทอนกำลังของผู้คนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอื่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาที่ราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณ์เท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่องราวของดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่ม มิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวซูเมอร์ ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวซูเมอร์สร้างขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวซูเมอร์ ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

ศิลปะวัฒนธรรมของเมโส     

เมโสโปเตเมีย(Mesopotamia) หรือ  "ดินแดนระหว่างแม่น้ำแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสดินแดนดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์"  ได้ชื่อว่าดินเเดนเเห่งศิลปวัฒนธรรมที่มีอายุเก่าเเก่ที่สุดในโลก
           คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่น ๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ
 กลุ่มชนต่างๆที่เคยมีอำนาจเเละสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมเหนือดินเเดนเมโสโปเตเมีย ได้เเก่
 ชาวสุเมเรียน
 ชาวอัคคาเดีย (Akkadians)
 ชาวอมอไรต์ (Amorites)
 ชาวแอสซีเรียน (Assyrian)
Picture

ชาวสุเมเรียน 

           ชาวสุเมเรียน เป็นคนกลุ่มแรกที่มีอำนาจครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมียในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส ( Tigris – Euphrates)   ปัจจุบันคือ  ประเทศอิรัก เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอารยธรรมในแถบลุ่มแม่น้ำไทกริส – ยูเฟรทีส  มีการปกครองแบบนครรัฐ สภาพภูมิอากาศ     แบบกึ่งทะเลทรายไม่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้งทางธรรมชาติเกิดอากาศวิปริตแปรปรวนอยู่เสมอ สภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย จึงมีผลให้พวกเมโสโปเตเมียมองโลกในแง่ร้าย เห็นตัวเองเป็นทาสของพระเจ้า    สังคมของชาวสุเมเรียนจึงยกย่องเกรงกลัวเทพเจ้าและถือเป็นหน้าที่หลักของทุกคนที่ต้องรับใช้เทพเจ้า      ความเชื่อดังกล่าวมีผลให้วัฒนธรรมสุเมเรียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา  ชาวสุเมเรียนนิยมสร้างวัดขนาดใหญ่  เรียกว่า    ซิกกูแรต ( Ziggurat )    เพื่อบูชาเทพเจ้า เป็น สถาปัตยกรรมคล้ายภูเขาขนาดใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ที่ประทับของเทพเจ้าต่าง ๆ  สร้างด้วยอิฐตากแห้ง ตั้งอยู่ใจกลางเมืองที่แวดล้อมด้วยบ้านเรือนและกำแพงเมือง
Picture

 ผลงานที่สำคัญ   

             รู้จักประดิษฐ์อักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม ( Cuneiform)  เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ  แทนความหมายของคำ เพื่อประโยชน์ทางด้านศาสนกิจ  เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเก่าแก่ที่สุเมเรียน    วรรณกรรม   ที่สำคัญ คือ มหากาพย์กิลกาเมซ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของวีรบุรุษทีแสวงหาชีวิตอมต   มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ รู้จักการใช้จำนวนที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อย   เช่น เลขฐาน6,,60,360,600,3600  รู้จักวิธีคูณ หาร ยกกำลัง ถอดรากกำลังที่สอง และที่สาม การคำนวณหาพื้นที่ของวงกลม การกำหนดมาตราชั่ง ตวง วัด
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลาง ทางทิศตะวันออกของทะเลแคสเปียน และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำอะมู-ดาร์ยา (Amu-Darya) ระหว่างอิหร่านและอุซเบกิสถาน ภาคเหนือติดคาซัคสถาน ภาคใต้ติดอัฟกานิสถาน ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดอุซเบกิสถาน ภาคตะวันตกติดอิหร่าน
พื้นที่ 488, 100 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง อาชกาบัท (Ashgabat)
ประชากร 5.4 ล้านคน (2559) ชาวเติร์กเมนร้อยละ ๘๕ ชาวรัสเซียร้อยละ ๗ ชาวอุซเบกร้อยละ ๕ และอื่น ๆ ร้อยละ 3  
ภาษา เติร์กเมนเป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างกว้างขวาง
ศาสนา อิสลามสุหนี่ 89% คริสต์ออร์โธด็อกซ์ 9 % อื่นๆ 2%
เขตการปกครอง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 จังหวัด ได้แก่ 1)                                  ภูมิอากาศ ทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีป
เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง (ช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 2 ชั่วโมง)
วันชาติ 27 ตุลาคม (วันประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต)
ประธานาธิบดี นายกูร์บันกูลี เบอร์ดิมูฮาเมดอฟ (Mr. Gurbanguly Berdimuhamedov)
รมว.กต. นายราชิด เมเรดอฟ (Mr. Rashid Meredov)
สกุลเงิน มานัท (TMT) 1 บาท = 0.10 มานัท (ณ พ.ค. 2559) 
เงินทุนสำรอง 49 พันล้าน USD (ไทย : 156.51 พันล้าน USD)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 7.0 (ไทยร้อยละ -0.9)
GDP (PPP) 90.29 พันล้าน USD (ไทย373.5 พันล้าน USD)
GDP per Capita 15,600 USD (ไทย : 5,426.3 USD)
Real GDP Growth ร้อยละ 7.6 (ไทย : ร้อยละ 2.8)
อุตสาหกรรมหลัก ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สิ่งทอ อาหารแปรรูป
สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ทางเคมีและผลิตภัณฑ์ทางอาหาร ท่อเหล็ก
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ฝ้าย  ธัญพืช โพลิเมอร์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ จีน ตุรกี รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยูเครน เยอรมนี ฝรั่งเศส อุซเบกิสถาน อิหร่าน สหรัฐอเมริกา
ตลาดส่งออกที่สำคัญ จีน ตุรกี อิตาลี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อัฟกานิสถาน อิหร่าน คาซัคสถานอ

อารยธรรมไทย
ราชวงศ์ของไทย
สมัยสุโขทัย


 ราชวงศ์พระร่วงคือราชวงศ์แรกของไทย มีกษัตริย์ 9 พระองค์ ปกครอง เวลา 120 ปี

1.  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

2.  พ่อขุนบาลเมือง 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พ่อขุนบานเมือง


3.   พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

4.   พระยาเลอไท  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระยาเลอไทย

5.   พระยางั่วนำถม 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

6.   พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไท ) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระมหาธรรมราชาที่ 1

7.   พระมหาธรรมราชาที่ 2 ( ลือไท ) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)

8.   พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท ) 
Lithai statue.png


ครองราชย์ จาก พ.ศ. 1792- พ.ศ. 1981 รวม 120 ปี และเหลื่อมทับกับสมัยอยุธยา อยู่ 27 ปี


สมัยอยุธยา 

    ราชวงศ์ อู่ทอง ปกครอง 2สมัย  สมัยที่ 1 ปกครอง 20 ปี มีกษัตริย์ 2 พระองค์ คือ 

1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่1  ( พระเจ้าอู่ทอง )  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระรามาธิบดีที่1

2. สมเด็จพระนเรศวร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จนเรศวร

 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ  เข้าปกครอง 2 ครั้ง  ครั้งแรก 18 ปี
มีกษัตริย์ปกครองในครั้งแรก 2พระองค์คือ

1.  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว )
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว )

2.  สมเด็จพระเจ้าทองลั่น (เจ้าทองจันท์ ) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระเจ้าทองลั่น (เจ้าทองจันท์ )


สมัยที่ 1 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ปกครอง 18 ปี จาก พ.ศ.  1913-1931
แล้วถูกราชวงศ์อู่ทองชิงอำนาจกลับมาอีกครั้ง

1. สมเด็จพระนเรศวร สมัยที่ 2 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระนเรศวร

2. สมเด็จพระบรมราชาธิราช 2
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระบรมราชาธิราช2

 รวมราชวงศ์อู่ทองครองราชย์ 2ครั้ง 41 ปี มีกษัตริย์ 3 องค์ และสิ้นสุดราชวงศ์
ราชวงศ์ สุพรรณภูมิ สมัยที่ 2 กลับมาใหม่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ครั้งที่2 ครองราชย์ 160


1.สมเด็จพระอินราชาธิราช  ( พระนครินทราธิราช ) 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

2. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา )
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา )

3.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3

5.สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 (พระเชษฐาธิราช ) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 (พระเชษฐาธิราช )

6.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร ) 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

7. สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร

8.  สมเด็จพระไชยราชาธิราช
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

9.  สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า ) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า )

10.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์

11. สมเด็จพระมหินทราธิราช  

ราชวงศ์สุพรรณภูมิปกครอง 2 สมัย รวม   178 ปี เสียกรุงครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112

       สมัยกรุงธนบุรี 

 1.  พระเจ้าตากสินมหาราช 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเจ้าตากสินมหาราช

สมัยรัตนโกสินทร์ จาก 2325- ปัจจุบัน

1.พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

2.พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

4.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

5. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

7.   พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

8. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

9. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


วัฒนธรรมไทย และศิลปวัฒนธรรม 

วัฒนธรรมไทย หรือศิลปวัฒนธรรมไทย แท้จริงแล้วมีสิ่งที่สวยงาม เป็นเสน่ห์ที่สร้างสีสันให้กับประเทศไทย แต่หลายคนอาจไม่ทราบถึงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เรามาทำความรู้จักกับศิลปวัฒนธรรมของไทยกันดีกว่าค่ะ
วัฒนธรรม คืออะไร หมายถึงอะไร
 
วัฒนธรรม คืออะไร วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น การแสดง การร้องเพลง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านจิตกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ซึ่งวัฒนธรรมของคนแต่ละภาคในประเทศไทยก็มีความเหมือนและแตกต่างกันบ้างตามแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งการสืบทอดหรืออาจมีการดัดแปลงบ้างเพื่อให้มีความเป็นสมัยนิยมมากขึ้น รวมทั้งสามารถประพฤติปฏิบัติกันได้อย่างทั่วถึงด้วยนั้นเอง
วัฒนธรรมไทย : ด้านการแต่งกาย
 
วัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำจากผ้าไหม ผ้าทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่งนิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
ตัวอย่าง ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ
ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยมตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก 
วัฒนธรรมไทย : ด้านภาษา
 
ต่อไปก็เป็นวัฒนธรรมด้านภาษา ด้วยประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดในโลก ทำให้เรามีภาษาไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน และในประเทศไทยก็มีภาษาทางการ คือภาษากลาง ซึ่งคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ในภาคไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษากลางนั้นเอง เพราะในประเทศไทยเรามีถึง 4 ภาคหลักและในแต่ละภาคก็ใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปบ้างดังนั้นเพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารตรงกันได้เราจึงมีภาษากลางเกิดขึ้นนั่นเอง
วัฒนธรรมไทย : ด้านอาหาร
วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและวัฒนธรรมด้านภาษาคือวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกินที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วเราจะเรียกว่าวัฒนธรรมอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย เป็นต้น อาหารถือเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ และถือว่าอาหารไทยก็ไม่แพ้อาหารของชนชาติใด
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
เหล่านี้คือวัฒนธรรมหลักๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศไทยซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีวัฒนธรรมอีกมายมากเพียงแต่อาจจะใช้กันในชุมชนหรือหมู่บ้านของแต่ละท้องถิ่น แต่เมื่อเรามีวัฒนธรรมหลักที่เป็นของเราเองอยู่แล้วเราก็ควรอนุรักษ์ไว้ให้เป็นเอกลักษณ์ของเราไม่ควรให้ต่างชาติมามีอิทธิต่อเรามากเกินไปเพราะวันหนึ่งเราอาจไม่เหลือวัฒนธรรมไทยอะไรให้จดจำอีกเลย ฉะนั้นเรามาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เถิดเพื่อลูกหลานเราในอนาคตจะได้ไม่หลงลืมไปและพูดถึงประเทศไทยได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดไป


ความเจริญรุ่งเรือง


๑.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง
               การที่ประเทศไทยสมัยประชาธิปไตยมีความมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาเป็นสำคัญส่วนเกิดจากปัจจัยสำคัญหลายประการ
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทย

๑.      พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อราษฎรและประเทศชาติ  ทั้งในเรื่องของความดีของราษฎร การเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติในยามที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามและการรุกรานจากภายนอก ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย
๒.    การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ในลักษณะที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญโดยพยายามปรับเปลี่ยนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ทำให้ประเทศไทยสามารถดำรงอธิปไตยของชาติไว้ได้ ดังเช่น ในสมัยสงครามโลกครั่งที่ ๒ และสมัยที่ไทยกำลังเผชิญกับการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์
๓.     การมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเล  สำหรับเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทยและความมั่นคงของประเทศ เช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ แก็สธรรมชาติสัตว์น้ำในบริเวณอ่าวไทย เป็นต้น นอกจากนี้  ยังมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวสำหรับเลี้ยงชีพคนไทยทั่วทุกภาคของประเทศอีกด้วย
๔.    การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ทำให้การพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมดำเนินไปอย่างเป็นระบบตามหลักของการพัฒนา ดังนั้น  สภาพความเป็นอยู่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม และอื่น ๆ จึงขยายตัวออกไปทำให้ไทยมีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง

การเเพร่ขยายเเละการถ่ายทอดของอารยธรรมไทย

แหล่งอารยธรรมไทย

อารยธรรมอมอไรท์
 อมอไรท์ 
                ชนทะเลทรายเผ่าหนึ่ง คือ อมอไรท์ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลนเมื่อ 2000 B.C. บาบิโลนเข้มแข็งขึ้นตามลำดับจนได้เป็นนครใหญ่ของอาณาจักร
เมโสโปเตเมียทั้งหมด ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าจักรวรรดิบาบิโลเนีย พวกบาบิโลนสามารถเอาชนะบรรดาเพื่อนบ้านคือพวกอัคคาเดียน และสุเมเรียนได้  กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากพระองค์หนึ่งคือ กษัตริย์ฮัมมูราบี ผู้ทรงสร้างประมวลกฏหมายที่มีชื่อว่า 
“The Code of Hammurabi”
ความเจริญของอาณาจักรบาบิโลเนียเก่าในสมัยของกษัตริย์ฮัมมูราบี
                พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมดินแดนแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรตีส เข้าไว้ในอำนาจแต่เพียงผู้เดียว และสถาปนารัฐบาลที่เข้มแข็งขึ้น
ปกครองบาบิโลนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่ไม่มีความหมายสำคัญกลายเป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์ราชบันฑิตเป็นจักรวรรดิบาบิโลเนียแรก 
(First Babylonian Empiire) ทรงปกครองอยู่ 43 ปี (1792-1750 B.C.) ทรงมีผลงานสำคัญ คือ

การร่างประมวลกฎหมาย (Hammurabi Code)  พระเจ้าฮัมมูราบีทรงเป็นที่รู้จักในฐานะเป็น
ผู้สร้างประมวลกฎหมายเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรมแห่งชีวิตด้วย ทรงกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลกฎหมายว่า เพื่อผดุงความยุติธรรมให้คงอยู่ในแผ่นดิน ทำลายคนชั่วและคนร้าย ป้องกันคนแข็งแรงข่มเหงคนที่อ่อนแอกว่า...และเพื่อพัฒนาสวัสดิการสำหรับประชาชน
ประมวลกฎหมายนี้จารึกอยู่บนแผ่นดินไดโดไรท์สีดำ ขนาดสูง ฟุต จารึกด้วยอักษร Cuniform ประมวลกฎหมายนี้ประดิษฐ์ไว้ในวิหารของเทพมาร์คุด (marduk) ซึ่งเป็นเทพสูงสุดของบาบิโลน นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบแผ่นหินดังกล่าวในปี ค.ศ. 1901 ตอนบนของแผ่นหินมีรูปแกะสลักภาพเทพเจ้ากำลังประทาน
ประมวลกฎหมายให้แก่ ฮัมมูราบี แผ่นหินนี้นับเป็นโบราณวัตถุที่มีค่ายิ่งในทางประวัติศาสตร์ เพราะข้อความในประมวลกฎหมายสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคม 
Babylonia ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี ทำให้เราทราบว่า Babylonia ประกอบขึ้นด้วยคนชั้นต่างๆ คือ กรรมกรและทาส


รายชื่อสมาชิก
เด็กชายภูชิสส์             จันทร์มี                      เลขที่5        ม.2/2
เด็กหญิงธัญญรัตน์     รัตนทั่ง                      เลขที่23
เด้กหญิงมัธยา             เลิศพัฒพงศ์กุล       เลขที่30
เด็กหญิงสุทิชา            ถนอมรัก                   เลขที่37

ความคิดเห็น